ทนายภูวงษ์ โพธิ์ไทร ประธานเครือข่ายทนายความ

ทนายภูวงษ์ โพธิ์ไทร ประธานเครือข่ายทนายความ

เปิดหน้าต่อไป

ทนายเตือนภัย

ทนายภิญญาพัชญ์ ทนายจอย

ทนายภิญญาพัชญ์ ทนายจอย

ทนายจอยค่ะ ทนายคดีครอบครัว จอยจะเอาเรื่องภัยสังคม ภัยออนไลน์และคดีความเกี่ยวกับครอบครัวมาแนะนำนะค่ะ

เรื่อง

  1. หญิงมีสามีใช้นามสกุลตัวเองได้หรือไม่
  2. ความรุนแรงในครอบครัว
  3. บุตรนอกสมรส
  4. ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา
  5. ลูกเป็นของใคร เมื่อไม่จดทะเบียนสมรส
  6. บุตรบุญธรรมที่สมบูรณ์แบบ
  7. บุตรบุญธรรม รักนี้ต้องมีกติกา
  8. หนี้ต้องรับ ทรัพย์ต้องแบ่ง
  9. สินสมรสเรื่องของสองเรา
  10. สมัครใจใช้ น.ส.
  11. อย่าพึ่งดีใจ แค่ได้จดทะเบียนสมรส
  12. สมรักแล้ว ต้องสมรส
  13. อยากมีคู่ต้องดูอายุครบ
  14. หมั้นแล้วก็คลาดแคล้วได้
  15. การแบ่งสินสมรส
  16. ความรุนแรงในครอบครัว 01
  17. ความรุนแรงในครอบครัว 02


ขอบคุณข้อมูลดีๆมีสาระจากเพจรู้หมดกฎหมาย

www.สู้คดี.com 

คอลเซ็นเตอร์ทนายความ 099 464 4445  

คุยกับทนายจอย: 099 152 4195

แชทกับทนายจอย: https://bit.ly/lawyerjoy

01.เรื่อง หญิงมีสามีใช้นามสกุลตังเองได้หรือไม่

           แต่ก่อนแต่ไรมา พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 กำหนดบังคับไว้ว่า หญิงมีสามีต้องใช้นามสกุลของสามีเท่านั้นจะใช้นามสกุลเดิมของตนก่อนสมรสไม่ได้ หรือแม้จะใช้นามสกุลอื่นให้ผิดแผกแตกต่างไปจากนามสกุลที่สามีใช้อยู่ก็ไม่ได้ ทางออก ณ ขณะนั้นก็คือ หญิงมีสามีทั้งหลายเลี่ยงไปใช้นามสกุลเดิมของตนในฐานะที่เป็นชื่อรอง อย่างไรก็ดีเมื่อปี 2546 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วว่า บทบังคับให้หญิงมีสามีต้องใช้นามสกุลของสามีดังกล่าว เข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อสตรี เพราะจัดให้มีสถานะทางกฎหมายที่ด้อยกว่าสามี เป็นการเลือกปฏิบัติระหว่างหญิงกับชาย ขัดต่อหลักความเสมอภาค จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ และนับแต่นั้นมา ผู้หญิงก็มีทางเลือกมากขึ้น

มีปัญหาคดีครอบครัว ปรึกษาทนายจอย 099 152 4195

**************************************

02.เรื่อง ความรุนแรงในครอบครัว

           ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลในครอบครัว รวมทั้งทุกภาคส่วนในสังคมร่วมกันรณรงค์และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว โดยกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่กระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัวแม้จะอยู่ในสถานะเป็นสามี ภรรยากันก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พุทธศักราช 2550 มาตรา 4 “ผู้ใดกระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัว ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ให้ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่ไม่ลบล้างความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่น หากการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๙๕ ด้วย ให้ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้”

มีปัญหาคดีครอบครัว ปรึกษาทนายจอย 099 152 4195

*********************************************

03.บุตรนอกสมรส

    โดยทั่วไปหากสามีภรรยาจดทะเบียนสมรสกัน บุตรที่เกิดมาจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของคนทั้งสอง แต่ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จะเป็นบุตรนอกสมรส ซึ่งหมายถึง บุตรที่เกิดจากสามีภรรยาที่อยู่กินด้วยกัน โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส เด็กที่เกิดมาตามกฎหมายถือว่า เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงซึ่งเป็นมารดาเท่านั้น แต่เป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา ถ้าหากบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นให้การอุปการะเลี้ยงดู แสดงออกโดยเปิดเผยว่า เด็กที่เกิดจากหญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสเป็นบุตรของตน หรือบิดาให้ใช้นามสกุล ส่งเสียให้เรียนหนังสือ ซึ่งต่อมาบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายถึงแก่ความตาย เด็กก็จะมีสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของบิดาได้ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๗ บัญญัติว่า บุตร นอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว และบุตรบุญธรรมนั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบ ด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ จึงมีสิทธิรับมรดกได้นั่นเอง

มีปัญหาคดีครอบครัว ปรึกษาทนายจอย 099 152 4195

***************************************

04.ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา

ความขัดแย้งเรื่องทรัพย์สินที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา ไม่ว่าเกิดจากฝ่ายสามีกระทำกับภรรยา หรือเกิดจากฝ่ายภรรยากระทำกับสามี เช่น การขโมยเงิน และของมีค่า หรือฉ้อโกงหลอกลวงเงิน แม้กฎหมายถือว่าเป็นความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ เพราะกฎหมายมองว่าเป็นเหตุส่วนตัวที่สามารถยกโทษให้กันได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 71 ตัวอย่างเช่น สามีขโมยสร้อยคอทองคำซึ่งเป็นสินส่วนตัวของภรรยาไปขาย แม้สามีจะมีความผิดฐานลักทรัพย์ แต่กฎหมายก็มีเหตุยกเว้นโทษ เนื่องจากเป็นเหตุ ส่วนตัวที่สามารถยกโทษให้กันได้ เนื่องจากต้องการคุ้มครองความผาสุกของสามีภรรยาในระบบครอบครัวอันเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม แม้กฎหมายจะไม่เอาผิด แต่เรื่องในลักษณะนี้ถ้าไม่เกิดขึ้นย่อมจะเป็นผลดีกับทุกฝ่ายมากกว่า

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

***************************************

05.ลูกเป็นของใคร เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส

หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า กรณีที่หญิงชายมีความสัมพันธ์กันจนมีบุตรขึ้นมาในขณะที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ตามกฎหมายกำหนดให้บุตรนั้นเป็นสิทธิของฝ่ายหญิงเท่านั้น เว้นแต่ต่อมาฝ่ายหญิงและชายไปจดทะเบียนสมรสกัน หรือกรณีอื่นๆ เช่น บิดาของบุตรไปดำเนินการขอให้จดทะเบียนเป็นบุตร หรือบิดาของบุตรร้องขอต่อศาลและได้รับการอนุญาต บุตรจึงจะเป็นสิทธิของบิดา ตัวอย่างเช่น นายสมศักดิ์อยู่กินกับนางสมศรีอย่างเปิดเผยแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้คลอดลูกออกมา ขณะนั้นให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนางสมศรีเท่านั้น ภายหลังนายสมศักดิ์ไปจดทะเบียนสมรสกับนางสมศรี หรือนายสมศักดิ์ไปจดทะเบียนรับรองการเป็นบุตร ต่อนายทะเบียนที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตในพื้นที่กรุงเทพฯ หรือในกรณีนำหลักฐานการเป็นบิดาของบุตรไปร้องขออนุญาตจากศาลก็ได้ ก็จะทำให้นายสมศักดิ์เป็นพ่อของบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 และมาตรา 1548 

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

***************************************

06.บุตรบุญธรรมที่สมบูรณ์แบบ

 หากเราต้องการรับบุตรบุญธรรมสักคนหนึ่งก็ควรจะทำให้ถูกต้องตามกฎหมายและสมบูรณ์ในทุกด้าน โดยจะต้องไปจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อให้เกิดสิทธิต่างๆ แก่บุตรบุญธรรม เช่น การมีสิทธิรับมรดก ซึ่งหากไม่มีการจดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมจะทำให้บุตรบุญธรรมผู้นั้นไม่ได้รับสิทธิต่างๆ จากผู้รับบุตรเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/27 อย่างไรก็ตาม ผู้รับบุตรบุญธรรมจะไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/29 ตัวอย่างเช่น เจ้ามรดกที่ตายไปได้ จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายไว้ตั้งแต่ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ บุตรบุญธรรมจึงมีสิทธิได้รับมรดกในสถานะเดียวกับผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน) บิดามารดา และคู่สมรสของเจ้ามรดก ในทางกลับกัน พ่อหรือแม่รับบุตรบุญธรรมจะไม่มีสิทธิรับมรดกจากบุตรบุญธรรม เพราะหากให้สิทธิดังกล่าวอาจเกิดการรับบุตรบุญธรรมเพื่อหวังผลประโยชน์ทางมรดกก็ได้ 

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

07.บุตรบุญธรรม รักนี้ต้องมีกติกา

การที่ผู้คนให้ความเมตตากับเด็กต้องการนำมาอุปการะเหมือนเป็นลูก ตามสายโลหิตนั้นกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ แต่ก็ได้วางกฏเกณฑ์เพื่อคุ้มครองความสงบของสังคมและศีลธรรมไว้ด้วย เพื่อป้องกันการเปลี่ยนสถานะของผู้รับบุตรกับคนที่เป็นบุตรบุญธรรมภายหลัง เช่น เดิมผู้รับเป็นพ่อ แต่ต่อมาเปลี่ยนสถานะกลายเป็นสามี กฎหมายจึงต้องเข้ามาดูแล โดยกำหนดเกณฑ์อายุของผู้รับบุตรบุญธรรม ว่าต้องเป็นบุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุห่างจากบุตรบุญธรรม ไม่น้อยกว่า 15 ปี และบางกรณีต้องผ่านความเห็นชอบของผู้ปกครองอีกด้วย หากบุตรบุญธรรมยังเป็นผู้เยาว์ และกรณีที่บุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ที่อายุเกิน 15 ปี จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ที่จะมาเป็นบุตรบุญธรรมด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/19 มาตรา 1598/20 และ มาตรา 1598/21

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

08. หนี้ต้องรับ ทรัพย์ต้องแบ่ง

  เมื่อคู่สมรสที่เคยรักกันต้องสิ้นสุดความสัมพันธ์กันแล้ว นอกจากสินสมรสที่ต้องแบ่งให้เท่าๆ กันแล้ว ในส่วนของหนี้สินที่เกิดมาร่วมกันระหว่างสมรสก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบไปในส่วนเท่าๆ กันด้วย ตัวอย่างเช่น นายสมโชคได้จดทะเบียนหย่าร้างกับนางสมพร โดยทั้งคู่มีเงินสดอยู่ 500,000 บาทที่เป็นสินสมรส ขณะเดียวกันนายสมโชคก็มีหนี้อยู่ 100,000 บาทที่เกิดจากไปกู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นค่าใช่จ่ายในการเรียนของลูก ต่อมาเมื่อทั้งคู่หย่าร้างกันจะต้องแบ่งสินสมรสกันคนละ 250,000 บาท ขณะเดียวกันนางสมพรจะต้องช่วยรับผิดชอบหนี้จำนวนดังกล่าวที่นายสมโชคก่อขึ้นระหว่างสมรสจำนวนครึ่งหนึ่ง หรือ 50,000 บาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 มาตรา 1535 

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

09.สินสมรส เรื่องของสองเรา

  เมื่อตกลงปลงใจร่วมชีวิตกันแล้ว กฎหมายได้แบ่งสินทรัพย์ออกเป็นสองส่วน คือ สินส่วนตัวกับสินสมรส สำหรับสินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่แต่ละคนมีอยู่เดิมก่อนที่จะแต่งงานกัน รวมทั้งเครื่องใช้ส่วนตัว เครื่องแต่งกาย เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ ทรัพย์สินที่ฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยได้รับมรดก หรือการได้มาโดยเสน่หา และในกรณีฝ่ายหญิง คือ ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 โดยฝ่ายที่เป็นเจ้าของสินส่วนตัวสามารถใช้ทรัพย์สินได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากคู่สมรส ส่วนสินสมรส คือทรัพย์สินที่ คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส รวมทั้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือที่ระบุเป็นสินสมรส และดอกผลของสินส่วนตัว แต่ในกรณีเกิดความสงสัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสหรือไม่ ให้สันนิษฐานเอาไว้ก่อนเป็นสินสมรส เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1472 วรรค 1 และวรรค 2 และหากฝ่ายใดจะใช้สินสมรสจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งด้วย 

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

***************************************

10.สมัครใจใช้ น.ส.

ในอดีตการจะดูว่าผู้หญิงคนใดสมรสแล้วหรือไม่สามารถสังเกตได้จากคำนำหน้าชื่อที่ใช้ว่า “นาง” จากเดิมที่ใช้คำว่า “นางสาว หรือ น.ส.” ปัจจุบันกฎหมายเปิดโอกาสให้ฝ่ายหญิงมีสิทธิเลือกใช้คำนำหน้าชื่อที่บ่งบอกถึงสถานะของตัวเองได้ ตามพระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ. 2551 มาตรา 5 และมาตรา 6 เช่น หากแต่งงานแล้ว ยังต้องการใช้ คำนำหน้าว่า “นางสาว” โดยไม่เปลี่ยนไปใช้ “นาง” ก็สามารถทำได้ หรือกรณีฝ่ายหญิงสมรสแล้วแต่ทำการหย่าร้างกับสามี ต้องการกลับมาใช้คำนำหน้า ชื่อว่า นางสาว หรือ น.ส. อีกครั้งก็ทำได้ เช่นกัน ทั้งนี้ เพียงนำหลักฐานประกอบด้วย ทะเบียนสมรส ทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชน ไปยื่นคำร้องขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขตในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จากนางก็สามารถกลับมาเป็นนางสาวได้โดยไม่ยุ่งยาก 

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

11.อย่าพึ่งดีใจ แค่ได้จดทะเบียน

ในอดีตการรักใคร่ชอบพอจนนำไปสู่การแต่งงานและจดทะเบียนสมรสเปรียบเสมือนการมีหลักฐานที่มั่นคงสำหรับชีวิตคู่ แต่สมัยนี้ต้องพึงระวัง โดยเฉพาะสถานการณ์ที่ผู้คนรู้จักกันง่ายดายผ่านโลกออนไลน์จนนำไปสู่การคบหา แต่งงาน และจดทะเบียนสมรสกันในที่สุด เพราะหากไม่ตรวจสอบให้ดีอาจพบว่าอีกฝ่ายมีคู่ครองที่จดทะเบียนสมรสชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ผลที่ตามมาคือฝ่ายที่จดทะเบียนสมรสภายหลังถือเป็นการจดทะเบียนสมรสซ้อน โดยจะไม่มีผลและสิทธิ์ใดๆ ทางกฎหมายรองรับเลย 

ตัวอย่างเช่นนายสุนทรกับคุณยุพดี คู่สามีภรรยาจดทะเบียนสมรสกัน อย่างถูกต้องตามกฎหมาย อยู่มา นายสุนทรเล่นเฟซบุ๊คแล้วเกิดไปพบกับนางสาวสุภา เกิดรักใคร่ชอบพอ นายสุนทรถึงขั้นชวนไปจดทะเบียนสมรสเพื่อยืนยันความรัก โดยที่นางสาวสุภาไม่ทราบมาก่อนว่านายสุนทรได้จดทะเบียนสมรสกับคุณยุพดีอยู่แล้ว ดังนั้น ต่อมาหากนางสาวสุภาตกลงยอมจดทะเบียนสมรสกับนายสุนทร จะถือว่าการจดทะเบียนสมรสของนางสาวสุภาเป็นการจดทะเบียนสมรสซ้อนและตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้บ้าน 099 464 4445

***************************************

12.สมรักแล้ว ต้องสมรส

คู่รักบางคู่อาจเข้าใจว่าการจัดงานแต่งงานใหญ่โตผู้คนรับรู้กันทั้งบ้านทั้งเมืองเป็นการสมรสโดยชอบแล้ว แต่ในทางกฎหมายถือว่ายังไม่เกิดสิทธิซึ่งกันและกันของความเป็นคู่สามีภรรยา ดังนั้น หากต้องการรักษาสิทธิของแต่ละฝ่ายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ตามมา คู่สมรสคือฝ่ายชายและหญิงจะต้องไปจดทะเบียนสมรสต่อหน้านายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขตในพื้นที่กรุงเทพฯ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 มาตรา 1458 ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการแสดงความยินยอมว่าจะเป็นสามีภรรยากันโดยเปิดเผย และเป็นการสมรสที่ครบถ้วนตามขั้นตอนของตามกฎหมาย

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้ศาล 099 464 4445

***************************************

13.อยากมีคู่ต้องดูอายุให้ครบ

หนุ่มสาวหรือวัยรุ่นมักใจร้อนอยากจดทะเบียนสมรสกันเร็วๆ แต่ในทางกฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขเอาไว้ว่า ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ จึงจะทำการสมรสกันได้ เว้นแต่มีเหตุอันสมควรก็ขอให้ศาลสั่งให้สามารถสมรสกันได้ ตัวอย่างเช่น นายเอกับนางสาวบี ทั้งคู่อายุ 15 ปี ทั้งสองรักกันมากและต้องการจดทะเบียนสมรสกันแต่ไม่สามารถทำได้เพราะกฎหมายไม่อนุญาต ในทางกลับกัน สมมุติว่านายเอกับนางสาวบีเกิดได้เสียกันและนางสาวบีได้ตั้งท้อง บิดาและมารดาของทั้งสองฝ่ายจึงต้องไปร้องขออนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสกันได้ เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 

มีปัญหาคดีครอบครัว ปรึกษาทนายจอย 099 152 4195

*******************************************

14.หมั้นแล้วก็คลาดแคล้วได้

คนทั่วไปมักจะคิดว่า เมื่อมีการหมั้นหมายขึ้นแล้วจะต้องจบลงด้วยการแต่งงานกับอีกฝ่ายเสมอ ซึ่งข้อเท็จจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะหากฝ่ายใดเกิดเปลี่ยนใจภายหลัง เนื่องจากเหตุใดๆ ก็ตาม ก็ไม่สามารถบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งแต่งงานด้วยได้ ส่วนฝ่ายที่ถูกถอนหมั้นมีสิทธิได้รับค่าทดแทน ถ้าเป็นกรณีฝ่ายหญิงซึ่งเป็นฝ่ายถูกหมั้นเป็นผู้ผิดสัญญาเสียเอง ฝ่ายชายสามารถเรียกของหมั้นคืนได้ ตัวอย่างเช่น นายสมชายกับนางสาวสมหญิงได้หมั้นหมายกันตามประเพณี ต่อมานางสาวสมหญิงเกิดเปลี่ยนใจ ไม่อยากแต่งงานกับนายสมชายแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ นายสมชายไม่สามารถบังคับให้นางสาวสมหญิงแต่งงานกับตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1438 ซึ่งในกรณีนี้ นางสาวสมหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นจึงต้องคืนของหมั้นทั้งหมดแก่นายสมชายด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439 ในทางกลับกันหากนายสมชายเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายหญิงคือนางสาวสมหญิงไม่ต้องคืนของหมั้นและยังสามารถเรียกค่าทดแทนได้ด้วย 

มีปัญหาคดีครอบครัว ปรึกษาทนายจอย 099 152 4195

*******************************************

15.การแบ่งสินสมรส

เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 บัญญัติให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงเท่าๆ กัน และมาตรา 1535 ได้บัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดของหญิงชายภายหลังการสมรสสิ้นสุดลงไว้ว่า ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ตามส่วนเท่ากันตามบทบัญญัติดังกล่าว สรุปได้ว่าเมื่อการสมรสสิ้นสุดลงให้ชายและหญิงที่หย่ากันแบ่งสินสมรสกันคนละครึ่งในส่วนที่เท่ากัน ส่วนความรับผิดเกี่ยวกับหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างเป็นสามีภรรยากันนั้นก็ต้องรับผิดในส่วนเท่าๆ กันเช่นกัน ยกเว้นหนี้ที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสร้างขึ้นเป็นหนี้ส่วนตัวโดยแท้ไม่เกี่ยวกับสินสมรส ทั้งนี้ฝ่ายที่ก่อหนี้ต้องรับผิดเองเป็นการส่วนตัว

มีปัญหาคดีครอบครัว ปรึกษาทนายจอย 099 152 4195

*******************************************

16.ความรุนแรงในครอบครัว 01

ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลในครอบครัว รวมทั้งทุกภาคส่วนในสังคมร่วมกันรณรงค์และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว โดยกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่กระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัวแม้จะอยู่ในสถานะเป็นสามี ภรรยากันก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พุทธศักราช 2550 มาตรา 4

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

16.1 ความรุนแรงในครอบครัว 02

บางครอบครัวที่มีการทำร้ายร่างกายกันอย่างรุนแรงตามที่นำเสนอทางสื่อหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ฯลฯ จนถึงขั้นฟ้องศาลให้ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เบื้องต้นตามความสมควร หรือร้องขอให้มีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ต่อผู้ถูกกระทำในครอบครัว โดยห้ามผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวเข้าไปในที่พำนักของครอบครัวหรือเข้าใกล้ตัวบุคคลใดในครอบครัว หากผู้กระทำความรุนแรงฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงาน ถือเป็นความผิดตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พุทธศักราช 2550 มีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445


การตั้งค่าคุกกี้
ไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ในการท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้น
คุณสามารถยอมรับคุกกี้ทั้งหมดหรือเลือกประเภทของคุกกี้ที่คุณยินดีอนุญาต
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
เลือกคุกกี้ที่คุณต้องการอนุญาตในขณะที่คุณเรียกดูเว็บไซต์นี้ โปรดทราบว่าคุกกี้บางตัวไม่สามารถปิดได้ เนื่องจากหากไม่มีคุกกี้ เว็บไซต์จะไม่ทำงาน
ความสำคัญ
เพื่อป้องกันสแปม ไซต์นี้ใช้ Google Recaptcha ในแบบฟอร์มการติดต่อ

ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้สำหรับอีคอมเมิร์ซและระบบการชำระเงินซึ่งจำเป็นสำหรับเว็บไซต์เพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง
บริการของ Google
ไซต์นี้ใช้คุกกี้จาก Google เพื่อเข้าถึงข้อมูล เช่น หน้าที่คุณเยี่ยมชมและที่อยู่ IP ของคุณ บริการของ Google บนเว็บไซต์นี้อาจรวมถึง:

- Google Maps
- Google Font
ข้อมูล
ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้เพื่อบันทึกพฤติกรรมของผู้เข้าชม ติดตามการแปลงโฆษณา และสร้างผู้ชม รวมถึงจาก:

- Google Analytics
- เครื่องมือวัด Conversion ของ Google Ads
- Facebook (Meta Pixel)